แต่เรากำลังหมายถึงหลักการแก้ปัญหาด้วย 5 จริง ต่างหาก
5 G มาจากตัวย่อในภาษาญี่ปุ่นอยู่ 5 ตัวครับ
1. Genba ........ สถานที่ / หน้างาน จริง
2. Genbutsu .. สิ่งของ/ ชิ้นงานที่เป็นตัวปัญหา จริง
3. Genjitsu ..... สถานการณ์ จริง
4. Genri .......... ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จริง
5. Gensoku .... เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้อง จริง
เหตุที่ต้องพูดถึงมันเพราะ ตลอดร่วม 20 ปีที่ทำงานมาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ Thai Better Solutions พบว่าวิศวกรและหัวหน้างาน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงบางคนด้วย (ฮา!!!) ส่วนใหญ่ขาดพื้นฐานในเรื่องนี้ครับ ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้นแต่หลายประเทศที่ไปสัมผัสมา ก็จะพบปัญหาเดียวกันคือแก้ปัญหาโดยขาดพื้นฐานที่จำเป็นต้องมี เลยทำให้แก้ปัญหาได้เพียงชั้นผิวหน้าเท่านั้น ต้นเหตุของปัญหาเลยไม่ถูกแก้รอวันกลับมาฉายซ้ำใหม่อยู่ร่ำไป
ครับ Thai Better Solutions กำลังบอกว่าเจ้า 5G หรือ 5Gen นี้เป็นพื้นฐานที่ต้องมี ( Basic of Problems Solving) ก่อนที่คุณจะไปใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาตัวอื่น ๆ (Problem Solving Tools) ไม่ว่าจะเป็น Six Sigma, Lean Manufacturing หรือ QCC เป็นต้น แต่มันถูกละเลยมาตลอด
มันเปรียบเสมือนระเบียบวินัยที่มีอยู่ในตัวคนเรา ไม่ว่าจะไปทำงานที่ไหนก็จะพบกับความสำเร็จอยู่เสมอ

มาดูครับว่ามันทำงานกันอย่างไร?
ให้ลองนึกถึง เวลาเกิดคดีขึ้น แล้วเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเขาทำงานกันอย่างไร
... พวกเขาลงไปในที่เกิดเหตุจริง (สถานที่จริง)
... เพื่อเก็บรวบรวมหลักฐานทั้งพยานวัตถุ (ของจริง )
... และพยานแวดล้อม (สถานการณ์จริง)
... จากนั้นหาคำอธิบายในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ( ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจริง)
... และตรวจสอบถึงมูลเหตุจูงใจว่าทำไมผู้ต้องสงสัยถึงได้ก่อเหตุขึ้น *ถ้ามี* ( เงื่อนไขประกอบ )
พอเห็นภาพไหมครับ ทีนี้มาดูว่าจะนำไปใช้แก้ไขปัญหาอย่างไร
1) Genba ( สถานที่ / หน้างานจริง )
เราไม่อาจแก้ไขป้ญหาได้จากการนั่งแต่ใน office ครับ เพราะข้อมูลที่จำเป็นล้วนอยู่ที่หน้างานเท่านั้น การนั่งโต๊ะแก้ปัญหาทำได้แต่นั่งเทียนเท่านั้น

2) Genbutsu ( ของจริง / ชิ้นงานที่เป็นตัวปัญหาจริง)
ของจริงมีถึง 6 มิติ ที่ทำให้เราได้ชัณสูตร ( ยืมศัพท์ทางนิติเวชวิทยามาใช้หน่อยนะ )
รวมถึงการชำแหละเพื่อพิสูจน์ก็ทำได้ ไม่เหมือนกับการดูรูปจากภาพกระดาษ ( มีแค่ 2 มิติ) หรือจากจอภาพคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อจำกัด ไม่ว่าจากความบังเอิญด้วยข้อจำกัดของมุมกล้อง หรือด้วยความตั้งใจของใครบางคนที่จะให้เราเห็นเพียงไม่กี่มุมเท่านั้น
3) Genjitsu ( สถานการณ์จริง )
ปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นเพียงช่วงเสี้ยววินาทีเท่านั้น และไม่มีโอกาสย้อนภาพกลับมาดูได้
จึงต้องสอบถามจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริงเท่านั้นโดยมากมักจะเป็น operator ที่ทำงานในขณะนั้น หรือบางที่ที่ได้บันทึกกล้องวงจรปิดเอาไว้ก็จะเป็นโอกาสงามที่จะเผยให้เห็นสาเหตุ
แต่มีอีกหลายปัญหาที่เป็นพื้นฐานมาก ๆ เลย ที่มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำอยู่ทุกวี่ทุกวัน เพียงแต่เรา
ต้องไปสังเกตุให้ถูกต้องกับเวลาเท่านั้น อย่างเช่นปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะกะดึกเท่านั้นขณะที่กะอื่นไม่เกิดเลย คงรู้แล้วใช่ไหมว่าจะต้องไปสังเกตุการณ์ในกะใด ( คงต้องกางมุ้งเฝ้ากันแล้วหล่ะ )
4) Genri ( ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจริง )
ทฤษฎีจะเป็นตัวอธิบายว่าเหตุการณ์หรือปัญหามันเกิดขึ้นได้อย่างไรไงครับ เมื่ออธิบายได้ก็
สามารถปิดคดี เอ้ย !! แก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำได้ต่างหาก ซึ่งบางครั้งก็ต้องอาศัยการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าถูกต้องตรงกับหลักทฤษฎีหรือไม่ก่อนที่จะยอมรับ
ตัวอย่าง: น้ำนมที่ได้จากแม่วัวตัวเดียวกันในเวลาช่วงเดียวกันต่างกันแค่ใส่คนละถัง แต่ปรากฎว่าเมื่อมาถึงโรงงานรับซื้อนม ถังหนึ่งกลับบูดขณะที่อีกถังหนึ่งปรกติดี อย่างนี้ก็ต้องไปขุดค้นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาอธิบายแล้วตั้งสมมุติฐานเพื่อการพิสูจน์ต่อไป
5) Gensoku ( เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้องจริง )
เงื่อนไขประกอบเป็นตัวส่งเสริมหรือเร่งเร้าให้ปัญหาเกิดขึ้นครับ (ในบางปัญหามีแต่ในอีก
หลายปัญหากลับไม่มี) และแก้ไขให้หมดไปได้ยาก ใช้งบประมาณหรือใช้เวลาในการแก้นาน
ตัวอย่าง : โรงงานหนึ่งเริ่มต้นด้วยการซื้อโกดังขนาดเล็กเก่าๆ มาดัดแปลงเป็นอาคาร A ต่อมากิจการดีวันดีคืนจำต้องขยายก็ใช้วิธีเดิมคือ ขอซื้อโกดังในแปลงถัดไปมาต่อขยายเป็นอาคาร B ซึ่งห่างออกไป 100 ม. แล้วเกิดความจำเป็นต้องขนส่งงานจาก A ไป B แล้วก็ส่งกลับไป A อีกที การจะเอางานมารวมกันในอาคารเดียวก็ทำไม่ได้ด้วยข้อจำกัดอื่น งานก็เข้าสิครับพี่น้อง !!! เกิดความสูญเปล่าในการขนส่งและการรอคอยขึ้นแล้ว
เจ้า G ที่ 5 นี้ยังครอบคลุมไปถึงกฏระเบียบวิธีในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอุปสรรคด้วย
จากประสบการณ์ในการทำงานของทีมงาน Thai Better Solutions พบว่ากว่า 75% ของปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงานสามารถแก้ไขได้ด้วยหลักการ 5G นี้แหละครับ ส่วน tools ตัวอื่นจะช่วยเสริมในการแก้ไขในบางเรื่องที่ลึกซึ้งลงไป การเพิ่มประสิทธิผลขั้นสูง และการทำให้ยั่งยืน
กลับไปสู่พื้นฐานกันครับ ( Let's back to the basic)
คราวนี้พอที่จะเข้าใจและนำไปสอนลูกน้องได้ไหมครับ ลองดูนะ เริ่มต้นจากเราก่อนแล้วค่อยขยายไปยังลูกน้อง ( และลูกพี่ด้วย )
แต่หากยังไม่มั่นใจติดต่อกลับมาครับ ทางทีมงาน Thai Better Solutions มีหลักสูตรรวมถึง Workshop ที่จะทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงการใช้ หลักการ 5G นี้อย่างสนุกสนาน
ติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่
Email: thaibettersolutions@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น