วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วงสวิงกับการทำงานอย่างมีประสิทธิผลสูง !!!


มาสร้างวงสวิงกันเถอะ !!! ( Let's back to the basic)

Photobucket

...ผมตีกอล์ฟไม่เป็นครับ (แฮ่ ๆ) แล้วเกิดอะไรขึ้นหล่ะถึงจะมาชวนพวกเราให้มาสร้างวงสวิงกัน ต้องบอกกันก่อนว่าถึงแม้จะเล่นไม่เป็นแต่ก็พอที่จะดูกีฬาชนิดนี้เป็นอยู่บ้าง ก็เลยทำให้รู้ว่าทำไมกอล์ฟจึงเป็นกีฬาที่ช่างท้าทายตนเองและมีเสน่ห์ชวนให้ผู้คนจำนวนมากติดตามเป็นแฟนคลับ
...เสน่ห์ ของมันก็คือ ความแปลกและแตกต่างจากพวกครับ ก็มีอย่างที่ไหนที่นับคนที่ได้แต้มน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะไง!! แถมคนเล่นก็ไม่ได้แข่งกับใครหรอกนอกจากแข่งกับตนเองที่จะทำแต้มให้ได้น้อยที่สุด
...เอากันคร่าวๆ นะพี่น้อง กอล์ฟมี 18 หลุม การเล่นก็คือผู้เล่นต้องตีไอ้เจ้าลูกกลมๆ เล็กๆให้ลงหลุม โดยมีโควต้าให้ตีได้ไม่เกินหลุมละ 3-5 ที แล้วแต่ความยากง่ายของแต่ละหลุม (เรียกโควต้าแบบนี้ว่า พาร์/Par แต่เรียกการตีแต่ละทีว่า สโตรค/Stroke ) ทั้งหมดมีโควต้า 72 พาร์ ใครใช้สโตรคเท่ากับพาร์ทั้งหมดที่กำหนดให้ก็เรียกว่า อีเวนพาร์/Even Par ใช้มากกว่าเรียกว่า โอเวอร์พาร์/Over Par ส่วนใช้น้อยกว่าเรียกว่า อันเดอร์พาร์/Under Par ฉะนั้นผู้ที่ได้อันเดอร์พาร์สูงสุด หรือใช้สโตรค น้อยที่สุดในการแข่งขันก็จะเป็นผู้ชนะ

Photobucket

...แล้วทำไมผมจึงชวนให้มาสร้างวงสวิง ก็เพราะเจ้าวงสวิงนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการตีกอล์ฟครับ คนที่ยังไม่มีวงสวิงแต่ดันไปออกรอบก็จะมีแต่ตีลูกเข้าป่าเข้าดง ไม่มีทางที่จะได้แม้แต่อีเวนพาร์หรอก วงสวิงที่ถูกต้องจะนำลูกกอล์ฟเข้าใกล้หลุมเป้าหมายได้มากที่สุด แม้จะเริ่มต้นตีในระยะที่ห่างไกลออกไปเป็นร้อยหลาก็ตาม ฉะนั้นผู้ที่เริ่มเล่นกอล์ฟจึงต้องไปตั้งต้นเรียนวงสวิงกับบรรดาโปรทั้งหลายเสียก่อน ที่จะไปออกรอบจริงในสนาม


Photobucket

..."การทำงานให้ได้ประสิทธิผลกับวงสวิง"
เคยสังเกตุไหมครับว่าพนักงานในบริษัทของเราไม่ว่า วิศวกร ช่าง เจ้าหน้าที่สำนักงาน หัวหน้างาน ตลอดจนผู้บริหารก็ไม่เว้น มักจะมีอาการเหล่านี้ให้เห็น

@ ขาดความคิดอย่างมีเหตุมีผล (Logical Thinking)
... ถาม “ทำไม” ไม่เป็น
... เชื่อ ทำตาม ลอกเลียนแบบ
... ไม่เคยคิดว่าเหตุ ทำให้เกิดผล (ก็เลยสายตาสั้นไง ฮา !!!)
...พอไม่มีเหตุผล ความคิดที่เป็นระบบ (Systematic Thinking) ก็เลยไม่เกิด


Photobucket

@ แก้ปัญหาไม่เป็น
... เริ่มต้นไม่ถูก เลยเดาสุ่มขึ้นมา
... วิเคราะห์ และควบคุมอย่างไรไม่รู้จัก
... เอาเครื่องมือแก้ปัญหามาเป็นตัวประกอบ (เดี๋ยวไม่น่าเชื่อถือ)
... ชอบฉายเดี่ยว ไม่ก็ขาดผู้นำ
... อ้างแต่ว่าขาดความรู้ในวิชาดังๆ (เลยต้องไปเรียนวิชาแพงๆ กัน เฮ้ย !!!)

Photobucket

@ สื่อสารไม่รู้เรื่อง
... ต้น กลาง ปลาย ไม่รู้จัก
... ชอบนักไปไหนมาสามวาสองศอก ลงท้ายน้ำท่วมทุ่ง
... เรื่องสำคัญไม่พูด แต่ชอบพูดนินทา ( ก็ชำนาญนี่ ฮา!!!)
... ประชุมไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการสรุปและติดตาม


Photobucket

@ ไม่รู้จักความสำคัญของโค้ชและการเป็นโค้ช
... OJT( On the Job Training) ต้องมีโค้ชประกบ
... โค้ชต่างจากเทรนเนอร์ การเป็นโค้ชจึงแตกต่าง
... ไม่มีโค้ช เด็กใหม่หรือลูกน้องจึงเก่งไม่ได้

Photobucket

@ ละเลยการบริหารรายวัน
... งานที่ให้ลูกน้องทำไปถึงไหนแล้วไม่รู้
... ตรงกับเป้าหรือเปล่าไม่เห็น
... กว่าจะรู้ว่าหลงทางเสียเวลาตามรื้อตามแก้ (เซ็งสิ!!!)

Photobucket

@ ความคิดติดลบ ห่างไกลความสร้างสรรค์
... ชอบสะกดคำว่าแพ้ จำนนต่อโชคชะตา
... ใช้เวลาไปกับการย่ำรอยเท้าเดิม การสร้างมูลค่าเพิ่มไม่เคยได้ยิน
... องค์กรเลยย่ำอยู่กับที่ ( ก็พี่ไม่รู้จะไปไหนนี่น้อง ฮา !!!)

Photobucket

@ ความเป็นผู้นำไม่รู้จัก
... ความเป็นผู้นำไม่ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง
แต่เริ่มต้นที่การมีส่วนร่วมรับผิดชอบอย่างจริงจัง
... ผู้นำแสวงหาการพัฒนาและเพิ่มคุณค่า ผู้บริหารพยายามทำให้ได้ผลตามแผน
... ทุกคนเป็นผู้นำได้ ( รู้ตัวหรือเปล่า ?)

Photobucket

@ ไม่รู้จักการปรับปรุง
... สับสนระหว่างการปรับปรุงและการแก้ปัญหา
... ไม่รู้ว่าการปรับปรุงคือ สัญญาณของการมีสุขภาพดีขององค์กร
... ไม่รู้ว่าการปรับปรุงคือ เรื่องของทุกคน ( ก็หนูไม่รู้ ฮา !!)

Photobucket

@ ติดภาพทีมงานแบบไทย ไทย
... ยามศึกร่วมรบ ยามสงบรบกันเอง
... ชอบสะสมความริษยาเป็นงานอดิเรก การนินทาเป็นของหวาน
... เกรงใจเลยไม่ขอเผชิญหน้า แต่ชอบลับหลัง
... ทำ Teamwork Building ทุกปีก็ไม่หาย

Photobucket


เกิดอะไรขึ้นนะหรือ?
อาการของการขาดวงสวิงนะสิ ครับ!!
.....คนของเราขาดพื้นฐานที่ควรจะมีสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมมานานมากแล้ว ทั้งจากวัฒนธรรมทางสังคมที่หลอมคนไทยมาในลักษณะเช่นนี้ และการศึกษาที่ไม่ได้เน้นกระบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุมีผล อีกทั้งขาดการเตรียมคนอย่างดีพอก่อนเข้าสู่อุตสาหกรรม นึกว่าแค่การเรียนตามหลักวิชาการจากรั้วสถาบันต่างๆ นั้นก็เพียงพอแล้ว
พอจบมาทำงานก็ขาดกระบวนการปรับพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นระบบให้
ขอย้ำนะครับว่า “พื้นฐานที่จำเป็น” คราวนี้เข้าใจบ้างหรือยังครับว่าเกิดอะไรขึ้น
"เขาไม่ได้ขาดความรู้ร่วมสมัย แต่ขาดพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเป็นระบบต่างหาก"

Photobucket

...ทีมงาน Thai Better Solutions ของเราพบปัญหาที่ซ้ำกันอย่างนี้เกือบทุกวัน ในหลากหลายวงการอุตสาหกรรมและทำให้เวลาสอนหรือให้การปรึกษาก็ต้องหยุดมาเสริมความรู้พื้นฐานเหล่านี้ให้ตลอด แต่ไม่สามารถทำได้ในความจำกัดของเวลานะครับ แล้วทำอย่างไรหล่ะที่จะเกิดผลที่ดีได้ จึงเกิดการชวนผู้อ่านให้กลับมาสร้างวงสวิง หรือพื้นฐานให้กับคนของเราก่อนไงครับ

... เป็นอย่างไรบ้างครับ เกิดปัญหาเหล่านี้ตรงกันไหม?
ถ้าใช่ก็กระโดดขึ้นรถไฟขบวนเดียวกันมาได้เลย!!

การสร้างพื้นฐานที่ดี นั้นควรสร้างให้ติดตรึงอยู่กับผู้เรียนให้ได้ เราจึงเน้นการใช้ Workshop มาเป็นตัวนำในการเดินเรื่องมากกว่าการบรรยายในทุกหลักสูตรของเรา
เมื่อคนมีพื้นฐานที่ดีแล้วก็ค่อยไปต่อยอดกับเครื่องมือตัวอื่น เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
...มาเรียนกับเราสิครับ เรียนอย่างมีบูรณาการเชื่อมโยงพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
กับหลักสูตรที่ชื่อว่า...


“กลับสู่พื้นฐานเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิผลสูงสุด”
( Back to the basic for highest effective working )

โดยหลักสูตรนี้ Thai Better Solutionsได้แบ่งออกเป็นสองชุด ( Module) ดังนี้ครับ

Module 1: Retrofit for effective person

...เป็นการปรับพื้นฐานใหม่เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้มีประสิทธิผลทั้งในการทำงานและการแก้ปัญหา


1) Logical and Systematic Thinking
...คิดดีมีระบบ
2) Just effective communication
...สื่อสารได้ผลทุกคนชื่นใจ
3) Positive and Creative Thinking
...คิดบวกและสร้างสรรค์เติมฝันให้เป็นจริง
4) We are a dream team
...ใช่เลย !! เราคือทีมในฝัน
5) Principle of problem solving
...กฏทองของการแก้ปัญหา

Module 2 : Effectiveness & Sustaining

...เป็นการขยายผลเพื่อการนำองค์กรไปสู่ความมีประสิทธิผลอย่างยั่งยืน

1) Keeping improvement
...ปรับปรุงไม่ท้อถอย
2) Daily Operation Management
...บริหารงานรายวัน เลิกประจัญกับปัญหา
3) Leadership we are
...เขาเรียกเราว่าผู้นำ
4) The way to be coach
...เขาคาดหวังให้เราเป็นโค้ช

มาสร้างวงสวิงกันเถอะครับ
....กับทีมงาน Thai Better Solutions ที่ทำงานจริงมาร่วม 20 ปีในอุตสาหกรรมต่างๆ และผ่านความสำเร็จในการทำงาน การสอน และการเป็นที่ปรึกษามาจนเป็นที่ประจักษ์มากมาย

วางใจในทีมงานที่เชื่อถือได้
Photobucket


สนใจติดต่อเรา Thai Better Solutions
อ. นำพล ตั้งทรัพย์ (ME. Industrial Engineering, CU)
Mobile # 081-6681224
อ. วีระพันธ์ เขมะนุเชษฐ์ (MSc. Mechanical Technology, KMIT-NB)
Mobile# 084-5492451

Email: thaibettersolutions@gmail.com


วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

5G หลักการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน

ไม่ใช่เทคโนโลยีมือถือในยุคที่ 5 นะครับ นี่มันปี ค.ศ.2009 เอง เจ้า3G กำลังรอคลอดสำหรับเมืองไทยเราอยู่เลย (ฮา !!) ไฉนจะมี 5G มาแซงหน้ามันได้
แต่เรากำลังหมายถึงหลักการแก้ปัญหาด้วย 5 จริง ต่างหาก

5 G มาจากตัวย่อในภาษาญี่ปุ่นอยู่ 5 ตัวครับ
1. Genba ........ สถานที่ / หน้างาน จริง
2. Genbutsu .. สิ่งของ/ ชิ้นงานที่เป็นตัวปัญหา จริง
3. Genjitsu ..... สถานการณ์ จริง
4. Genri .......... ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จริง
5. Gensoku .... เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้อง จริง

เหตุที่ต้องพูดถึงมันเพราะ ตลอดร่วม 20 ปีที่ทำงานมาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ Thai Better Solutions พบว่าวิศวกรและหัวหน้างาน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงบางคนด้วย (ฮา!!!) ส่วนใหญ่ขาดพื้นฐานในเรื่องนี้ครับ ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้นแต่หลายประเทศที่ไปสัมผัสมา ก็จะพบปัญหาเดียวกันคือแก้ปัญหาโดยขาดพื้นฐานที่จำเป็นต้องมี เลยทำให้แก้ปัญหาได้เพียงชั้นผิวหน้าเท่านั้น ต้นเหตุของปัญหาเลยไม่ถูกแก้รอวันกลับมาฉายซ้ำใหม่อยู่ร่ำไป

ครับ Thai Better Solutions กำลังบอกว่าเจ้า 5G หรือ 5Gen นี้เป็นพื้นฐานที่ต้องมี ( Basic of Problems Solving) ก่อนที่คุณจะไปใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาตัวอื่น ๆ (Problem Solving Tools) ไม่ว่าจะเป็น Six Sigma, Lean Manufacturing หรือ QCC เป็นต้น แต่มันถูกละเลยมาตลอด
มันเปรียบเสมือนระเบียบวินัยที่มีอยู่ในตัวคนเรา ไม่ว่าจะไปทำงานที่ไหนก็จะพบกับความสำเร็จอยู่เสมอ


Photobucket


มาดูครับว่ามันทำงานกันอย่างไร?
ให้ลองนึกถึง เวลาเกิดคดีขึ้น แล้วเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเขาทำงานกันอย่างไร
... พวกเขาลงไปในที่เกิดเหตุจริง (สถานที่จริง)
... เพื่อเก็บรวบรวมหลักฐานทั้งพยานวัตถุ (ของจริง )
... และพยานแวดล้อม (สถานการณ์จริง)
... จากนั้นหาคำอธิบายในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ( ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจริง)
... และตรวจสอบถึงมูลเหตุจูงใจว่าทำไมผู้ต้องสงสัยถึงได้ก่อเหตุขึ้น *ถ้ามี* ( เงื่อนไขประกอบ )

พอเห็นภาพไหมครับ ทีนี้มาดูว่าจะนำไปใช้แก้ไขปัญหาอย่างไร

1) Genba ( สถานที่ / หน้างานจริง )
เราไม่อาจแก้ไขป้ญหาได้จากการนั่งแต่ใน office ครับ เพราะข้อมูลที่จำเป็นล้วนอยู่ที่หน้างานเท่านั้น การนั่งโต๊ะแก้ปัญหาทำได้แต่นั่งเทียนเท่านั้น

Photobucket

2) Genbutsu ( ของจริง / ชิ้นงานที่เป็นตัวปัญหาจริง)
ของจริงมีถึง 6 มิติ ที่ทำให้เราได้ชัณสูตร ( ยืมศัพท์ทางนิติเวชวิทยามาใช้หน่อยนะ )
รวมถึงการชำแหละเพื่อพิสูจน์ก็ทำได้ ไม่เหมือนกับการดูรูปจากภาพกระดาษ ( มีแค่ 2 มิติ) หรือจากจอภาพคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อจำกัด ไม่ว่าจากความบังเอิญด้วยข้อจำกัดของมุมกล้อง หรือด้วยความตั้งใจของใครบางคนที่จะให้เราเห็นเพียงไม่กี่มุมเท่านั้น

3) Genjitsu ( สถานการณ์จริง )
ปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นเพียงช่วงเสี้ยววินาทีเท่านั้น และไม่มีโอกาสย้อนภาพกลับมาดูได้
จึงต้องสอบถามจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริงเท่านั้นโดยมากมักจะเป็น operator ที่ทำงานในขณะนั้น หรือบางที่ที่ได้บันทึกกล้องวงจรปิดเอาไว้ก็จะเป็นโอกาสงามที่จะเผยให้เห็นสาเหตุ
แต่มีอีกหลายปัญหาที่เป็นพื้นฐานมาก ๆ เลย ที่มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำอยู่ทุกวี่ทุกวัน เพียงแต่เรา
ต้องไปสังเกตุให้ถูกต้องกับเวลาเท่านั้น อย่างเช่นปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะกะดึกเท่านั้นขณะที่กะอื่นไม่เกิดเลย คงรู้แล้วใช่ไหมว่าจะต้องไปสังเกตุการณ์ในกะใด ( คงต้องกางมุ้งเฝ้ากันแล้วหล่ะ )


4) Genri ( ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจริง )
ทฤษฎีจะเป็นตัวอธิบายว่าเหตุการณ์หรือปัญหามันเกิดขึ้นได้อย่างไรไงครับ เมื่ออธิบายได้ก็
สามารถปิดคดี เอ้ย !! แก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำได้ต่างหาก ซึ่งบางครั้งก็ต้องอาศัยการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าถูกต้องตรงกับหลักทฤษฎีหรือไม่ก่อนที่จะยอมรับ
ตัวอย่าง: น้ำนมที่ได้จากแม่วัวตัวเดียวกันในเวลาช่วงเดียวกันต่างกันแค่ใส่คนละถัง แต่ปรากฎว่าเมื่อมาถึงโรงงานรับซื้อนม ถังหนึ่งกลับบูดขณะที่อีกถังหนึ่งปรกติดี อย่างนี้ก็ต้องไปขุดค้นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาอธิบายแล้วตั้งสมมุติฐานเพื่อการพิสูจน์ต่อไป

Photobucket

5) Gensoku ( เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้องจริง )
เงื่อนไขประกอบเป็นตัวส่งเสริมหรือเร่งเร้าให้ปัญหาเกิดขึ้นครับ (ในบางปัญหามีแต่ในอีก
หลายปัญหากลับไม่มี) และแก้ไขให้หมดไปได้ยาก ใช้งบประมาณหรือใช้เวลาในการแก้นาน
ตัวอย่าง :
โรงงานหนึ่งเริ่มต้นด้วยการซื้อโกดังขนาดเล็กเก่าๆ มาดัดแปลงเป็นอาคาร A ต่อมากิจการดีวันดีคืนจำต้องขยายก็ใช้วิธีเดิมคือ ขอซื้อโกดังในแปลงถัดไปมาต่อขยายเป็นอาคาร B ซึ่งห่างออกไป 100 ม. แล้วเกิดความจำเป็นต้องขนส่งงานจาก A ไป B แล้วก็ส่งกลับไป A อีกที การจะเอางานมารวมกันในอาคารเดียวก็ทำไม่ได้ด้วยข้อจำกัดอื่น งานก็เข้าสิครับพี่น้อง !!! เกิดความสูญเปล่าในการขนส่งและการรอคอยขึ้นแล้ว
เจ้า G ที่ 5 นี้ยังครอบคลุมไปถึงกฏระเบียบวิธีในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอุปสรรคด้วย

Photobucket

จากประสบการณ์ในการทำงานของทีมงาน Thai Better Solutions พบว่ากว่า 75% ของปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงานสามารถแก้ไขได้ด้วยหลักการ 5G นี้แหละครับ ส่วน tools ตัวอื่นจะช่วยเสริมในการแก้ไขในบางเรื่องที่ลึกซึ้งลงไป การเพิ่มประสิทธิผลขั้นสูง และการทำให้ยั่งยืน
กลับไปสู่พื้นฐานกันครับ ( Let's back to the basic)

คราวนี้พอที่จะเข้าใจและนำไปสอนลูกน้องได้ไหมครับ ลองดูนะ เริ่มต้นจากเราก่อนแล้วค่อยขยายไปยังลูกน้อง ( และลูกพี่ด้วย )
แต่หากยังไม่มั่นใจติดต่อกลับมาครับ ทางทีมงาน Thai Better Solutions มีหลักสูตรรวมถึง Workshop ที่จะทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงการใช้ หลักการ 5G นี้อย่างสนุกสนาน

ติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่
Email: thaibettersolutions@gmail.com


วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

งง !!! จริงๆ กับความหมายของสองคำนี้ มันคืออะไรและเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
นี่มักเป็นคำถามที่พบมากในการฝึกอบรมและสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
เรามาลองทำความรู้จักกับมันให้ชัดเจนกันดีกว่า

ประสิทธิภาพ ( Efficiency )
จาก Longman dictionary
Efficiency : The quality of doing something well and effectively, without wasting time, money, or energy.
…. ประสิทธิภาพคือ คุณภาพในการทำสิ่งต่างๆได้ดีและบรรลุผล ( มีประสิทธิผล ) โดยปราศจากความสูญเปล่าทางเวลา เงิน หรือพลังงาน …..
ด้วยความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพนั้นมีประเด็นที่สำคัญอยู่สองประการคือ
1) เป็นการวัดคุณภาพของกิจกรรมต่างว่าทำได้ดีมากน้อยเพียงใด
2) กิจกรรมดังกล่าวต้องเกิดผล ( มีประสิทธิผล) จึงจะวัดค่าได้

Photobucket

คำว่าประสิทธิภาพจึงถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและบ่อยครั้งในสารพัดกิจกรรมที่ต้องการวัดผลของความสำเร็จ ดังเช่น
1) ประสิทธิภาพในทางธุรกิจ ( Business Efficiency)
…วัดในรูปสัดส่วน (เปอร์เซนต์) ของรายจ่ายต่อรายรับ ( Expenses / Revenue)
ในกรณีนี้ค่าที่ต่ำจะบอกถึงความมีประสิทธิภาพมาก เพราะจ่ายออกไปน้อยกว่าการหาเข้ามา

2) ประสิทธิภาพในการอนุรักษ์พลังงาน ( Energy Conservation)
… วัดในรูปสัดส่วนของ พลังงานที่ลดลงได้ต่อพลังงานทั้งหมดที่ใช้ก่อนลด
ตย. ลดพลังงานไฟฟ้าได้ 5 KWH จากการใช้งานปรกติ100 KWH
ประสิทธิภาพ = 5/100 = 5%

3) ประสิทธิภาพในการผลิต ( Quality)
… วัดในรูปสัดส่วนของ ชิ้นงานดีที่ผลิตได้ต่อชิ้นงานทั้งหมดที่ป้อนเข้ากระบวนการ
ตย. จากงานเริ่มต้น 100 ชิ้น ได้งานดีออกมา 99 ชิ้น
ประสิทธิภาพ = 99/100 = 99%

สังเกตุว่าในกรณี 2และ3 นั้นค่าที่สูงจะบอกถึงความมีประสิทธิภาพมาก เพราะว่าทำการลดพลังงานได้มากขึ้นหรือสร้างของดีได้มากขึ้นนั่นเอง
** ดังนั้นการจะบอกว่ากิจกรรมใดมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ต้องพิจารณาจากธรรมชาติของกิจกรรมนั้นด้วยว่าผลลัพธ์ควรออกไปทางค่าสูงหรือต่ำ นี่เป็นเกณฑ์ที่สำคัญ
Great job!!

ประสิทธิผล ( Effectiveness )
จาก Longman Dictionary
Effectiveness : Producing the result that was wanted or intended :

The ads were simple, but remarkably effective.
… ประสิทธิผลคือ การสร้างผลลัพธ์ด้วยความต้องการหรือตั้งใจ
ตัวอย่าง งานโฆษณาเหล่านั้นดูธรรมดาแต่ได้ผลที่น่าชื่นชม….
จะเห็นว่าการที่จะเรียกว่ามีประสิทธิผลหรือไม่ต้องมีองค์ประกอบอยู่สองส่วนคือ
1) ต้องเกิดผล
2) เป็นผลที่เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่นให้เกิด (ไม่ใช่จากความบังเอิญ )


Photobucket

แล้วประเด็นคำถามมักจะเกิดขึ้นดังนี้
Q1: ประสิทธิผลสูงหรือต่ำเขาวัดกันอย่างไรหล่ะ?
A1: ก็วัดจากตัวเลขของประสิทธิภาพสิ
ลองย้อนกลับไปดูความหมายของประสิทธิภาพจะเห็นได้ว่ามันต้องเกิดผลจึงจะวัดค่าประสิทธิภาพได้

Q2: หมายความว่าประสิทธิภาพเป็นดัชนีวัดความมีประสิทธิผล?
A2: เมื่อดูจากความหมายแล้วก็ใช่เลย
ประสิทธิผลเหมือนเป็นนามธรรมที่มีมิติเดียวในแนวตั้ง คาดหวังสูงจากผลลัพธ์ของกิจกรรมที่มุ่งมั่นจะให้เกิด หากผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับความคาดหวังก็เรียกว่ามีประสิทธิผลสูง ตรงข้ามหากผลลัพธ์ที่ได้ต่ำไปจากความคาดหวังก็เรียกว่ามีประสิทธิผลต่ำ โดยใช้รูปธรรมของประสิทธิภาพมาวัด
ประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมที่มีหลากหลายมิติ
ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้วัดผลกิจกรรมอะไร โดยตัวขับเคลื่อนให้เกิดผลถูกวัดในเชิงปริมาณว่า มากหรือน้อย ตัวอย่างเช่นการเทกองทรายลงกับพื้น ทรายจะไหลตัวออกไปในแนวนอนทุกทิศทางจนหยุดที่ความสูงระดับหนึ่ง(แนวตั้ง) เมื่อเทมาก (ขับเคลื่อนมาก) ก็จะได้ผลจากมิติทั้งสองมาก เมื่อเทน้อย (ขับเคลื่อนน้อย) ก็จะได้ผลน้อยลง ดังนั้นประสิทธิภาพจึงถูกวัดผลออกมาในเชิงปริมาณ มากหรือน้อย ตามตัวขับเคลื่อนนั่นเอง

Q3: การได้มาซึ่งประสิทธิผลจึงควรกำหนดเป้าหมายและมิติของประสิทธิภาพอย่างชัดเจน?
A3: ถูกต้อง
การจะได้ประสิทธิผลสูงหรือต่ำ จะขึ้นอยู่กับความตั้งใจหรือคาดหวังว่าจะให้เกิดผลอย่างไร เกิดผลในมิติไหน ( นี่เรียกว่าธรรมชาติของกิจกรรมที่ต้องการ)

ตย) ต้องการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ( มิติการลดพลังงาน ) ลง 5% จาก 5,000 KWH / เดือน ( ผลที่คาด) *** 5% = 250 KWH
… หากผลที่ลดได้ 200 KWH ประสิทธิภาพ = 200/5,000 = 4 % ( มีประสิทธิผลต่ำกว่าเป้า )
… หากผลที่ลดได้ 250 KWH ประสิทธิภาพ = 250/5,000 = 5 % ( มีประสิทธิผลสูง)
… หากผลที่ลดได้ 300 KWH ประสิทธิภาพ = 300/5,000 = 6 % ( มีประสิทธิผลสูงกว่าเป้า)
… หากผลที่ลดได้ 0 KWH ประสิทธิภาพ = 0/5,000 = 0 % ( ไร้ประสิทธิผลโดยสิ้นเชิง )

Photobucket

Q4: ประสิทธิผลมีการจำแนกประเภทหรือไม่?
A4: โดยส่วนตัว ขอจำแนกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1) ประสิทธิผลเชิงเดี่ยว
วัดจากประสิทธิภาพของกิจกรรมตัวเดียวและมิติเดียว ( มีหน่วยเดียวกัน ) ที่ต้องการวัดความสำเร็จของมัน ดังตัวอย่างต่างๆข้างต้น

2) ประสิทธิผลหลากมิติ
เป็นประสิทธิผลชั้นสูงที่วัดค่าจากประสิทธิภาพเชิงเดี่ยวหลากหลายตัวประกอบกัน เป็นการแสดงถึงระดับของความเหนือชั้นที่มองถึงมิติโดยรวมของเรื่องที่เกี่ยวข้องเอาเข้าไว้ด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น ค่า
OEE ( Overall Equipment Effectiveness ) หรือ ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
" OEE เป็นดัชนีวัดความสำเร็จที่สำคัญของกิจกรรม TPM ( Total Productive Maintenance ) และ Lean Manufacturing"
เป็นประสิทธิผลหลากมิติที่วัดผลรวมผ่านประสิทธิภาพ 3 ตัวได้แก่
2.1) Availability ( ประสิทธิภาพในการทำให้เครื่องจักรทำงานได้ตามจำนวนเวลาที่วางไว้)
2.2) Performance ( ประสิทธิภาพในการผลิตให้ได้จำนวนตามเป้า)
2.3) Quality ( ประสิทธิภาพในการผลิตให้ได้ชิ้นงานดี)
OEE = Availability x Performance x Quality ( %)
ในระดับ World Class แล้ว OEE จะวัดประสิทธิผลอยู่ที่ 85% โดยคาดหวัง
Availability 90%, Performance 95% และ Quality 99%

Thai better solutions

3) ประสิทธิผลแบบเชิงซ้อน
เป็นประสิทธิผลที่มีมิติของประสิทธิภาพมากกว่าหนึ่งตัว โดยจะปล่อยให้มิติที่คาดหวังให้เกิดผลถูกขับเคลื่อนไปอย่างเต็มที่ในทิศทางที่กำหนด ส่วนตัวที่เหลือจะถูกตรึงเอาไว้ให้เป็นตัวอ้างอิง เปรียบเทียบหรือตัวส่งเสริม
ตัวอย่างที่โดดเด่นของประสิทธิผลแบบเชิงซ้อนก็คือ Productivity หรือ ผลิตภาพ
จาก Longman Dictionary
Productivity : The rate at which goods are produced and the amount produced compared with the work, time, and money needed to produce them.
… ผลิตภาพ เป็น อัตราของสินค้าและจำนวนที่ถูกผลิตเปรียบเทียบกับงาน เวลาและเงินที่ใช้ผลิตมัน …


ตัวอย่าง 1: ผลิตภาพในการใช้แรงงาน
… สินค้าที่ผลิตได้ / จำนวนชั่วโมงแรงงานที่ใช้ ( output/ labor-hour)
กรณีนี้ ผลที่ได้มาจากการตรึงจำนวนชั่วโมงแรงงานที่ใช้ไว้ที่ 1 labor-hour แล้ววัดว่าผลิตงาน ( เกิดผล )ได้ดีเท่าไรเมื่อเทียบกับเป้า เท่ากับเป้า สูงกว่าเป้าหรือต่ำกว่าเป้า
# เป็นการคาดหวังที่จะได้จำนวนงานที่มากขึ้นจากหนึ่งชั่วโมงแรงงานที่ใช้

ตัวอย่าง 2: ผลิตภาพในการใช้เวลางาน
… สินค้าที่ผลิตได้ / จำนวนเวลางานที่ใช้ ( Output/ Working hour or UPH )
# เป็นการคาดหวังที่จะได้จำนวนงานที่มากขึ้นจากหนึ่งชั่วโมงการทำงานที่ใช้

ตัวอย่าง 3: ผลิตภาพในการสร้างผลกำไรของทรัพยากรบุคคล
… ผลกำไร / จำนวนทรัพยากรบุคคลที่ใช้ ( Profit / Human Resource )
# เป็นการคาดหวังที่จะได้ผลกำไรที่มากขึ้นจากพนักงานหนึ่งคนที่มี


Q5: นอกจากใช้ประสิทธิภาพมาเป็นตัววัดความมีประสิทธิผลแล้ว ใช้ดัชนีตัวอื่นได้หรือไม่ ?
A5: ดัชนีทางสังคม ครับ
ตัวอย่าง ตำแหน่งหน้าที่การงาน ( ไม่นับพวกเด็กเส้น หรือ พวกส้มหล่นจนตีนบวม )
ความมั่นคงทางการเงิน ( จากสัมมาชีพ อันสุจริต )
ความสุขในครอบครัว ( อบอุ่น ลูกจบปริญญา และมีงานทำ เป็นต้น )
จะวัดอย่างไรว่ามีประสิทธิผลหรือ ? ก็ดูจากเป้าหมายที่แต่ละคนตั้งไว้แล้วเทียบกับผลที่ได้ครับ

Photobucket

ตัวอย่างที่โดดเด่นในเรื่องนี้ต้องยกให้หลักการของ Stephen R. Covey ในหนังสือที่ชื่อ
“ 7 อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง หรือ 7 Habits of Highly Effective People”
หลักการนี้ชี้แนะในเห็นว่า คนเราทุกคนเริ่มต้นชีวิตด้วย สภาวะการพึ่งพาผู้อื่น อยู่ภายใต้อิทธิพลของคนอื่นที่จะขับเคลื่อนเราไปในทางต่าง ๆ
จากนั้นเมื่อมีการพัฒนาด้วยการสร้างขอบเขตอิทธิพลของตนเองขึ้นมาบนหลักการที่ถูกต้อง มีคุณธรรมและจริยธรรม เราก็จะพบกับอิสระ หลุดพ้นจากการครอบงำ เขียนบทชีวิตของตนเองในทิศทางที่ต้องการได้ อ้นนี้เรียกว่า สภาวะพึ่งตนเอง
จนเมื่อเชื่อมต่อโครงข่ายของการพึ่งตนเองของแต่ละคนเข้าด้วยกันและพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน
อันนี้เรียกว่า สภาวะการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
คนเราเมื่อลองได้พัฒนาจนถึงจุดสุดยอด
ของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ย่อมรังสรรค์ผลงานอันหลากหลายและโดดเด่นฝากจารึกไว้ในชีวิตของตนเองได้ ทุกกิจกรรมล้วนใช้คนในการสร้างหากคนคนนั้นมีประสิทธิผลในตนเองก็ย่อมไปสร้างประสิทธิผลให้เกิดกับกิจการต่างๆได้ นี่แหละคือที่มาของผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง
ลองหาอ่านดูนะครับ หนังสือเล่มนี้ไม่มีวันตกยุคหรือล้าสมัยเพราะมันถูกเขียนขึ้นจากหลักความจริง

Q6: มีไหมที่ได้ประสิทธิภาพสูงแต่ใม่มีประสิทธิผล
A6: ก็พอจะมีจากกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องกันที่วัดประสิทธิผลในขั้นตอนสุดท้าย
ตัวอย่าง การฝึกอบรมที่ผู้เรียนทำคะแนนได้ดีมาก แต่พอนำไปปฏิบัติจริงกลับทำให้เกิดผลไม่ได้เลย พวกนี้เรียกว่า เก่งแต่เรียนอย่างเดียวแต่ทำงานไม่เป็นไง

โปรดทราบ บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลที่รวบรวมวัตถุดิบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ผนวกกับประสบการณ์ในชีวิตการทำงานร่วม 20 ปี การจะเชื่อจึงขอให้ใช้หลักกาลามสูตรมาพิจารณาว่า
มีเหตุผลตามหลักการหรือไม่ ให้คุณหรือให้โทษ แล้วลองนำไปใช้อธิยายประสิทธิภาพและประสิทธิผลดูว่าสมควรที่จะเชื่อหรือไม่
และเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เขียนได้ที่
อาจารย์ วีระพันธ์ เขมะนุเชษฐ์
email : thaibettersolutions@gmail.com
mobile : 084-549-2451