"7 Nights in Japan" ที่มีตำนานมาจากความรักของเจ้าชายต่างแดน
ผู้มีโอกาสมาเยือนญี่ปุ่นเป็นเวลา 7 วันแล้วได้พบรักกับสาวแดนอาทิตย์อุทัยเข้า
แต่จำต้องพรากจากกันจนต้องบรรยายความรู้สึกออกมาด้วยบทเพลงอันเศร้าสร้อยเพลงนี้ไงครับ
(เกี่ยวกันมั๊ยนี่)
Thai Better Solutions กลับมาแล้วครับ
กับบทความที่ต่อเนื่องจากฉบับวันที่ 10 กค 2009
7 Wastes Reduction
การที่จะลดความสูญเปล่าทั้ง 7 ได้เราต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องกับมันเสียก่อนว่า
มันคืออะไรและมาจากไหนในตำราของ Toyota Production System (TPS)
เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาที่ควรจัดการเอาไว้ดังนี้ครับ
1) Over Production (การผลิตที่มากเกินพอดี)

คำว่ามากเกินพอดีหมายถึง เกินความต้องการของลูกค้าและปริมาณการเก็บสำรองที่เหมาะสม
ส่วนใหญ่มันมาจากสายตาสั้น ที่คิดเอาง่ายๆว่าผลิตให้มากเพื่อต้นทุนจะได้ต่ำแต่ลืมคิดไปว่าผลกระทบที่ตามมาสูงเหลือเกินทั้ง
@ ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
@ การกีดขวางการไหลของงาน
@ โอกาสเสียหาย
@ สินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น (ปัญหาต่อกระแสการเงิน)
แล้วจะทำอย่างไรหล่ะ ก็ไปลดมันลงสิครับโดยผลิตตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการและในเวลา
ที่ต้องการเท่านั้น การผลิตมากแล้วขายได้เลยจะดีต่อต้นทุนคงที่ที่ต่ำลง แต่ตรงข้ามกลับเลวร้าย
ลงอย่างมาก ถ้าผลิตเกินแล้วขายไม่ได้เพราะจะโดนผลกระทบดังกล่าวโจมตีเอาครับ
2) Defect (ความบกพร่องของชิ้นงาน)
โดยธรรมชาติเราไม่สามารถผลิตงานให้ได้แต่ของดี 100% อยู่เสมอหรอกครับ
เพราะปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต 5M (Man, Machine, Material, Method
& Measurement) และ 1E (Environment) ไม่ได้คงที่อยู่ตลอด
แต่กลับมีความแปรปรวนอยู่เสมอ มากน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถ
ในการควบคุม ผลกระทบของมันมีดังนี้ครับ
@ การส่งมอบ
@ ชื่อเสียง
@ ต้นทุนตรงและต้นทุนแอบแฝง
สร้างความรู้ในเรื่องการควบคุมกระบวนการและการควบคุมคุณภาพให้คนของเราครับจะช่วยปรับปรุงเรื่องนี้ได้
3) Waiting (การรอปฏิบัติงาน)
เป็นการรอของสินค้าครับ ไม่ใช่การรอของคน เมื่อสินค้าเริ่มหยุดระหว่างกระบวนการผลิตจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม
นั่นหมายถึงการรอปฏิบัติงานเริ่มต้นแล้วหล่ะ แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นการรอกระบวนการถัดไปซะมากกว่า
เจ้าวายร้ายตัวนี้จะสร้างผลกระทบต่อ
@ ผลผลิต
@ การสร้างผลกำไร
@ ความเชื่อถือของลูกค้า
ไปทำการไหลของงานให้มีความคล่องตัวดูสิครับ อย่างเช่นการจราจรที่ไม่มีการหยุดชะงักเลยก็จะทำให้งาน
ไปถึงปลายทางได้ในเวลาที่รวดเร็วไง
4) Transporting (การขนส่ง)
เป็นการพูดถึงการขนส่งทั้งระหว่างกระบวนการและระหว่างโรงงาน ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ก่อมูลค่าเพิ่มให้กับตัว
สินค้าเลย มีแต่จะสร้างความสูญเปล่าให้ ลองนึกดูสิครับว่ามันมีอะไรบ้าง เริ่มจากภาพใหญ่ที่ Supplier
ส่งของมาให้เรา ส่งเข้ากระบวนการ และการส่งออกไปยังลูกค้า จากนั้นค่อยมองภาพเล็กของแต่ละส่วน
ว่าอะไรที่สร้างความสูญเปล่าบ้าง โดยผลกระทบมักจะมีดังนี้
@ ค่าใช้จ่ายส่วนเกิน
@ ความเสียหาย
@ อุบัติเหตุ
@ ภาระในการบริหาร
แล้วจะทำอย่างไรกับมันดี ก็ไปทำการลดให้เหลือน้อยลงมากที่สุดสิครับ บวกกับการบริหารจัดการให้การขนส่ง
มีประสิทธิภาพมากที่สุดหากลดมันไม่ได้ และที่สำคัญลองนำการขนส่งอัตโนมัติมาใช้ดู
5) Over Processing (กิจกรรมที่เกินความจำเป็น)
ไม่ใช่แค่การทำงานที่เกินความจำเป็นเท่านั้นนะครับแต่มันยังรวมถึงการใช้เครื่องจักรที่ไม่สมควรด้วย
เพราะภาพรวมทั้งหมดดังกล่าวคือ ความสูญเปล่านั่นเอง
...งานที่เกินความจำเป็นมักจะมาจากขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ฟุ่มเฟือย เน้นความเป็นเลิศ และไม่รู้จัก
การนำเอาเทคโนโลยีสาระสนเทศมาใช้งาน
...ส่วนการใช้เครื่องจักรที่เกินความจำเป็น มักเห็นจากการฝืนใช้งาน และการขี่ช้างจับตั๊กแตน ไงหล่ะครับ
ผลกระทบมักจะเห็นได้ดังนี้
@ ต้นทุนส่วนเกิน
@ ผลผลิตตกต่ำ
ไปค้นหาและลดมันลงโดยด่วนครับ
6) Motion (การปฏิบัติงานของคน)
ค่อนข้างชัดเจนอยู่ในตัวแล้วนะครับว่ามันหมายถึง การเคลื่อนไหวของคนที่ไม่ได้รับการควบคุมที่ดีพอ
มีการรบกวนเครื่องจักร เสียการเคลื่อนไหว โดยเปล่าประโยชน์ และยังรวมถึงการเคลื่อนไหวที่อาจทำให้ร่างกาย
ได้รับความบาดเจ็บเพราะไม่คำนึงถึงหลักการยศาสตร์ ( Ergonomic) อีกด้วย
ตัวนี้สร้างผลกระทบต่อ
@ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
@ ระเบียบวินัย
@ การเจ็บป่วยของพนักงาน
@ การสูญเสียเงิน
ไปสร้างมาตราฐานการเคลื่อนไหวและการควบคุมที่ดีขึ้นทั้งระบบครับ จะช่วย
7) Inventory (การเก็บสำรอง)
การเก็บสำรองในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ไม่ว่า วัตถุดิบ WIP หรืองานสำเร็จรูป ล้วนไม่ก่อให้เกิด
ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเลย มีแต่จะก่อให้เกิดความสูญเสียตามมา การเก็บสำรองนี้ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบมาจาก
เจ้าหกตัวแรก จะมีก็แต่นโยบายการจัดเก็บสำรองของมันเองเท่านั้นที่สร้างปัญหาขึ้นเอง
ฉะนั้นผลกระทบก็จะเป็นปัญหารวมที่ได้กล่าวมาคือ
@ การบริหารจัดเก็บ
@ ผลผลิต
@ ต้นทุน
@ การขัดขวางจราจร
การแก้ปัญหาอยากตอบแบบเอากำปั้นทุบดินเหมือนกันครับว่าก็อย่าจัดเก็บเลยสิ แต่ในความเป็นจริงเป็นไปเกือบไม่ได้
ใช่ไหม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่รวมของทุกฝ่าย ที่ต้องช่วยกันบริหารปริมาณการจัดเก็บให้มีน้อยที่สุด
และไปลดเจ้าหกตัวแรกลงให้ได้มากที่สุด
หลักการจำเจ้า 7 Wastes คือ “TIMWOOD”
ครับนี่เป็นภาพรวมของ 7 Wastes แต่ความยากจะอยู่ที่การนำเอาไปประยุกต์ใช้
ให้เหมาะสมกับองค์กรของเรา จะทำอย่างไรให้การลดเจ้าเจ็ดตัวนี้มีความแข็งแกร่งไม่ใช่การทำเพียงแค่ตัวใดตัวหนึ่ง
โดยเฉพาะถ้ามีกิจกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตอื่นๆ อยู่แล้วจะนำไปใช้ร่วมได้อย่างไร นับหนึ่งกันอย่างไรดี
และระหว่างทางหล่ะควรทำอย่างไร
มาปรึกษากับ Thai Better Solutions สิครับ
วางใจไว้ในมือที่เชื่อมั่นได้
Thai Better Solutions